5 เทคนิคบริหารลูกน้องอย่างมืออาชีพ

0
160

เชื่อว่าหนุ่มๆหลายคนต้องเคยปวดหัวกับการบริหารลูกน้อง ไม่ว่าจะบริหารอย่างไร ก็เหมือนจะไม่ถูกใจเอาซะเลย บางครั้งก็อาการหนักถึงขั้นลาออก ก่อให้เกิดความเสียหายกับบริษัท หลายๆครั้ง เราอาจจะต้องลองย้อนถามตัวเองว่า คุณเป็นเจ้านายที่ดีพอ หรือยัง คุณเอาใจใส่สารทุกข์สุกดิบของลูกน้องบ้างหรือเปล่า เขามีความสุขกับการทำงานดีไหม เขาต้องการงานที่ท้าทายกว่านี้ไหม เขาต้องการพัฒนาในเรื่องใดอีก เจ้านายบางคนไม่รู้ตัวว่าทำพลาดตรงไหน ทำไมลูกน้องถึงลาออก มาดูเหตุผลกันดีกว่า

1. ไม่เอาใจใส่ลูกน้อง ลูกน้องทุกคนต้องการให้เจ้านายเอาใจใส่ ช่วยกำหนดทิศทางการทำงาน คอยให้คำปรึกษา แนะ
แนวทางแก้ปัญหา หากคุณเป็นเจ้านายที่ไม่ค่อยใส่ใจลูกน้อง ไม่สนใจว่าเขาจะทุกข์หรือสุข ไม่ดุด่า แต่ก็ไม่แนะนำอะไรเพิ่ม
เติม หรือแม้แต่ไม่มีเวลาให้ยามที่เขาต้องการความช่วยเหลือ นั่นหมายความว่า คุณกำลังบั่นทอนความมั่นใจ และความ
สามารถที่เขามี ทำให้เขารู้สึกว่าไม่รู้จะอยู่ไปเพื่ออะไร ซึ่งก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พนักงานลาออกจากงาน
2. งานไม่ท้าทาย ใคร ๆ ก็อยากสนุกกับงาน อยากทำงานที่ท้าทายความสามารถ งานที่สร้างแรงบันดาลใจทำให้อยากมา
ทำงานทุกวัน แต่ถ้างานน่าเบื่อก็ทำให้ชีวิตการทำงานเหี่ยวเฉา ในฐานะเจ้านายควรกระตุ้นไฟการทำงานของลูกน้องให้
โชติช่วงอยู่เสมอ เพราะถ้าลูกน้องรู้สึกว่างานที่นี่ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น หรือท้าทายเขาอีกต่อไป เขาก็จะไปหางานอื่นที่ท้าทาย
เขามากกว่าที่เป็นอยู่
3. ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานไม่ดี ปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการลาออกของพนักงาน ได้แก่ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
ถ้าพนักงานไม่ค่อยมีเพื่อน ไม่สนิทกับใคร โอกาสอยู่ยาวน้อยมาก เพราะบรรยากาศเช่นนี้ไม่เอื้อให้เกิดความสุขในการ
ทำงาน
ตรงกันข้าม ถ้าคุณส่งเสริมบรรยากาศการทำงานให้เพื่อนร่วมงานสนิทกัน รักกัน คอยให้กำลังใจกัน เขาก็จะไม่
อยากลาออกไปไหน
4. ไม่มีโอกาสใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ เมื่อพนักงานได้ใช้ทักษะและความสามารถของเขาทำ งานอย่างเต็มที่ เขาจะ
เกิดความภาคภูมิใจ รู้สึกถึงความสำเร็จ และมั่นใจในตนเอง ทั้งยังเกิดแรงขับที่จะพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ถ้าเขาไม่มี
โอกาสได้ใช้ความสามารถที่เขามี เขาก็จะไปหาที่อื่นที่ให้โอกาสเช่นนี้กับเขา นอกจากนั้น หากพนักงานมองไม่เห็นเส้นทาง
เติบโตในอาชีพจากบริษัทของคุณ เขาก็ต้องออกไปหาทางเติบโตที่อื่นเช่นเดียวกัน คุณจึงควรพูดคุยกับพนักงานว่าเขาหวัง
อะไรจากการทำงานและเขาใฝ่ฝันที่จะเป็น อะไรในอนาคต เพื่อหาโอกาสที่จะทำให้เขาเติบโตอย่างที่ฝันใฝ่ไปพร้อมกับคุณ
5. เจ้านายไม่เห็นผลงาน ในส่วนนี้จะตรงกันข้ามกับประเด็นที่แล้ว โดยมองในอีกมุมหนึ่ง เมื่อพนักงานทุ่มเททำงานและรู้สึก
ภาคภูมิใจในผลงานของตน แต่หัวหน้ากลับมองไม่เห็น ประเมินผลงานอย่างต่ำต้อยน่าน้อยใจ ทำงานมาหลายปีแต่ไม่
ก้าวหน้า เป็นใครจะทนทำงานโดยที่เจ้านายไม่เห็นค่าบ้าง หากคุณยังต้องการให้พนักงานอยู่กับคุณต่อไป คุณควรเห็น
ความสำคัญและเอาใจใส่ต่อผลงานของลูกน้องมากกว่านี้ เพื่อที่จะไม่ต้องเสียเขาไป
6. งานหนักเกินไป งานที่หนักและเครียดกับงานเกินไปส่งผลเสียต่อสุขภาพ อีกทั้งยังกระทบกับชีวิตส่วนตัวและชีวิต
ครอบครัวของพนักงานอีกด้วย เมื่อชีวิตและงานไม่สมดุลกัน พนักงานที่มีครอบครัวแล้วมักเลือกให้เวลากับครอบครัว
มากกว่า โดยยอมลาออกแล้วหางานใหม่ที่เหมาะสมกับจังหวะชีวิตมากกว่า

คุณได้เห็นแล้วว่า เจ้านายมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของลูกน้องมากเพียงใด และคุณควรปฏิบัติต่อลูกน้องอย่างไร เพื่อรักษาพนักงานเก่ง ๆ เอาไว้ ให้อยู่กับคุณและองค์กรไปอีกนานแสนนาน

แหล่งที่มา: Jobsdb thailand

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.